กศน.ตำบลเปือจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรการเพาะเห็ดโคนน้อย
คุณประโยชน์จากเห็ด เห็ดจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำและยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี
เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน
นอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการแล้วเห็ดยังมีสรรพคุณทางยา
ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆเช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์(โรคหลงๆลืมๆในผู้สูงอายุ)หลอดเลือดหัวใจอุดตัน
และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
เห็ดโคนน้อย
จัดเป็นราชั้นสูงที่อยู่ใน ตระกูลเห็ดในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเนื่องจากมีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ
เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลือง
หรือเห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม
เห็ดปลวกน้อย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย
เห็ดหมึก(ภาคกลาง)เป็นเห็ดที่ขึ้นง่าย ลักษณะคล้ายเห็ดโคนสีขาวมีหมวกสวยงามสมส่วน ก้านดอกขนาดเท่าดินสอดำ
ความยาวของต้นเห็ดประมาณ 2-3 นิ้ว
วัสดุที่สามารถใช้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย
เนื่องจากวัสดุในพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นมีวัสดุในการเพาะเห็ดโคนน้อยที่ไม่เหมือนกันและเห็ดโคนน้อยสามารถที่จะเพาะในวัสดุเพาะดังนี้
1. ตอซังข้าว ฟางข้าว
2. ต้นข้าวโพด เปลือกข้าวโพด
3. ต้นถั่วหรือเปลือกถั่วชนิดต่างๆ
ซึ่งเศษวัสดุฯเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปของวัสดุเพาะเห็ด
และเมื่อเก็บเห็ดแล้ววัสดุเพาะเห็ดดังกล่าวยังสามารถนำกลับมาใช้เป็นอาหารสัตว์
เช่น โค กระบือ ได้อีกครั้ง โดยมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าปกติ
เนื่องจากย่อยได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ดีขึ้นด้วย
หรือใช้ในรูปของปุ๋ยชีวภาพสำหรับต้นไม้ก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี
ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีซึ่งทำให้ดินเค็มและแน่น
เห็ดโคนน้อย
จัดเป็นราชั้นสูงที่อยู่ใน ตระกูลเห็ดในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเนื่องจากมีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยมีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ
เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลือง
หรือเห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม
เห็ดปลวกน้อย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย
เห็ดหมึก(ภาคกลาง)เป็นเห็ดที่ขึ้นง่าย ลักษณะคล้ายเห็ดโคนสีขาวมีหมวกสวยงามสมส่วน ก้านดอกขนาดเท่าดินสอดำ
ความยาวของต้นเห็ดประมาณ 2-3 นิ้ว
วัสดุที่สามารถใช้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย
เนื่องจากวัสดุในพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นมีวัสดุในการเพาะเห็ดโคนน้อยที่ไม่เหมือนกันและเห็ดโคนน้อยสามารถที่จะเพาะในวัสดุเพาะดังนี้
1. ตอซังข้าว ฟางข้าว
2. ต้นข้าวโพด เปลือกข้าวโพด
3. ต้นถั่วหรือเปลือกถั่วชนิดต่างๆ
ซึ่งเศษวัสดุฯเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปของวัสดุเพาะเห็ด
และเมื่อเก็บเห็ดแล้ววัสดุเพาะเห็ดดังกล่าวยังสามารถนำกลับมาใช้เป็นอาหารสัตว์
เช่น โค กระบือ ได้อีกครั้ง โดยมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าปกติ
เนื่องจากย่อยได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ดีขึ้นด้วย
หรือใช้ในรูปของปุ๋ยชีวภาพสำหรับต้นไม้ก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี
ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีซึ่งทำให้ดินเค็มและแน่น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย
1.
วัสดุที่ใช้เพาะซึ่งสามารถหาได้ในท้องถิ่น (ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด
เปลือกถั่ว)
2.
แป้งมัน แป้งสาลี
3. รำละเอียด
4. หัวเชื้อเห็ดโคนน้อย
5. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
6. กากน้ำตาล
7. ไม้แบบ หรือกระบะเพาะขนาดความกว้าง 30 ยาว 50
สูง 30 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะทำด้วยไม้หรือเหล็กก็ได้
หรืออาจจะใช้ตะกร้าไม้หรือพลาสติกทำเป็นแบบก็ได้
8.
อุปกรณ์ในการต้มน้ำ ได้แก่ ถังน้ำมันหรือหม้อต้ม และเชื้อเพลิง
9.
เชือกหรือตอกสำหรับมัดวัสดุเพาะ
10 พลาสติกสำหรับคลุมกองวัสดุเพาะเพื่อกักเก็บความชื้น และเป็นการบ่มกองวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ด
1. ต้มน้ำ 100
ลิตร ใส่ปุ๋ยยูเรียและกากน้ำตาล (ในอัตราส่วนอย่างละ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร)
2. นำวัสดุเพาะใส่ลงไป ต้มนาน 5-10
นาที เพื่อให้สารอาหารจากปุ๋ยยูเรียและกากน้ำตาลได้ซึมเข้าไป ในวัสดุเพาะ และยังเป็นวิธีที่ช่วยกำจัดโรคและแมลง และวัชพืชต่างๆ
3.
นำวัสดุเพาะออกจากถังต้มมาผึ่งไว้ให้หายร้อน
4. นำวัสดุเพาะวางเรียงลงในไม้แบบให้มีความหนาพอประมาณ
(2-3เซนติเมตร)
5.
โรยด้วยเชื้อเห็ดโคนน้อยที่ได้ทำการผสมคลุกเคล้ากับรำละเอียดและแป้งมัน
6. วางวัสดุเพาะทับสลับกับเชื้อเห็ดโคนน้อยให้มีความสูง
4-5 ชั้น
โดยการใส่เชื้อเห็ดในชั้นล่างและชั้นบนจะใส่เชื้อเห็ดให้ทั่วบริเวณของวัสดุเพาะ
ส่วนในชั้นอื่นๆจะใส่เชื้อลงไปบริเวณด้านชิดขอบของวัสดุเพื่อให้ง่ายและสะดวกในการเก็บผลผลิต
7. ยกไม้แบบเพาะออก
มัดวัสดุเพาะรวมกันให้แน่นด้วยเชือกหรือตอก
8. นำไปวางไว้บริเวณที่ร่ม รำไร
รดน้ำให้เปียก
9. คลุมด้วยพลาสติกใสและพลาสติกสีดำให้มิดชิดจากนั้นคลุมด้วยพลาสติกที่ทึบ
หรือผ้าใบอีกชั้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด
10.ด้านล่างของวัสดุเพาะ
ควรมีการรองด้วยไม้ให้มีความสูงเหนือพื้นดินเล็กน้อยเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ
ส่วนพลาสติกที่คลุมกองวัสดุเพาะควรให้สูงจากกองเพาะ 5-10 เซนติเมตร
เพื่อให้ดอกเห็ดออกได้ดีไม่ติดกับพลาสติกที่คลุม
11. ภายในระยะเวลา 3-5 วัน
จะมีเส้นใยสีขาวของเห็ดเจริญทั่ววัสดุเพาะ และเห็ดจะออกดอกสมบูรณ์ประมาณวันที่ 7-10
โดยสามารถเก็บผลผลิตได้นาน ประมาณ 14-20 วัน
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่ทำเป็นโรงเรือน มีวิธีการเตรียมวัสดุเพาะที่เหมือนกัน
แต่สามารถทำได้ปริมาณที่มากกว่า เพราะสามารถจัดเรียงวัสดุเพาะได้หลายชั้น
ข้อควรระวัง
1. ควรมีการควบคุมความชื้นให้มีความสม่ำเสมอถ้าวัสดุเพาะมีความแห้งเกินไปเห็ดจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีแก้ไข โดยการรดน้ำให้เปียกชุ่ม
2. ควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้วัสดุแห้ง
มีการระเหยความชื้นออกไป เห็ดจะเจริญได้ไม่ดี
3. ควรเก็บเห็ดในช่วงบ่าย(ประมาณบ่าย 2-3
โมง)เพราะถ้าหากเก็บในตอนเย็น
หรือไม่เก็บขณะที่ดอกเห็ดเจริญเต็มที่จะทำให้เห็ดบานภายในเวลา 3-5 ชั่วโมง
หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์หรือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ กศน.ตำบลเปือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงกลาง
จังหวัดน่าน โทรศัพท์ 054-75318
ครูธีรศักดิ์ ยะกันทะ (ครูอัฟ)
โทรศัพท์ 084-8083966
เอกสารอ้างอิง คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่